วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

การเลี้ยงปลาทะเลเบื้องต้น

การเลี้ยงปลาทะเล เบื้องต้น
 การเลี้ยงปลาทะเลนั้น ถือว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปนัก ถ้าผู้เลี้ยงเป็นคนที่ใจเย็นและ
มีความเอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ  เนื่องจากการเลี้ยงปลาทะเลนั้น ต่างจากการเ้ลี้ยงปลาน้ำจืดที่คนส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงกัน   เนื่องด้วยปัจจัยหลายๆอย่างที่มีความจำเพาะเจาะจง... สำหรับคนที่มีความต้องการเลี้ยงปะการังด้วยนั้นก็จะเพิ่มความยากในการเลี้ยงตามชนิดของปะการังที่เลี้ยง โดยการเลี้ยงปะการังนั้น ก็จำเป็นต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งอุปกรณ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จอย่างมาก.






ปัจจัยต่างๆที่ต้องคำนึงในการเลี้ยงปลาทะเล

1.               น้ำ
การเลี้ยงปลาทะเลก็จำเป็นที่จะต้องใช้น้ำเค็มในการเลี้ยง สามารถหาได้โดยใช้น้ำทะเลจริง ๆ ซึ่งควรจะใช้น้ำทะเลที่ห่างออกจากชายฝั่งพอสมควรเพื่อน้ำทะเลที่จะนำมาเลี้ยงนั้นไม่มีสารมลพิษ และการเตรียมน้ำทะเลยังสามารถทำขึ้นเองได้ โดยการทำน้ำทะเลขึ้นมาเอง เกลือ ผสม น้ำเปล่า ตีน้ำประมาณ 1 อาทิตย์ จนให้เข้ากันหรือเราอาจจะเปิดปั๊มอ๊อกหัวหรายเพื่อให้น้ำได้ไหลเวียน พอเตรียมน้ำเสร็จเรียบร้อยเราก็ได้จะเอาเครื่องวัดความเค็ม (Hydrometer) วัดน้ำให้ได้ค่าประมาณ 1.020 – 1.025 โดยประมาณ

2.               ระบบกรอง
- ใยแก้ว ชั้นบนสุดสำหรับกรองเศษสิ่งสกปรกซึ่งอาจจะเกิดการหมักหมมได้ดังนั้นจึงควรหมั่นทำความสะอาดด้วย
- Bio ball เพื่อเพิ่มการแตกตัวของน้ำ ทำให้ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากขึ้นจึงเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำให้สูงขึ้น 
- เศษปะการัง , เปลือกหอยนางรมทุบ หรือ Bio ring เพื่อเป็นการ เพิ่มพื้นที่สำหรับเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการย่อยสลายของเสียในระบบของเรา
- ช่อง 3 จะใช้เป็นพื้นที่สำหรับปลูกสาหร่าย เพื่อดูดซับสารพิษหรือแร่ธาตุที่มีผลเสียบางอย่างและเป็นการเพิ่มอ๊อกซิเจนในน้ำ หรือใส่หินเป็น เพื่อเป็นที่อยู่ของแบคทีเรียสำหรับกระบวนการกำจัดของเสียจำพวกไนเตรตภายในตู้เรียกว่า Refugium ซึ่งอาจต้องติดตั้งไฟสำหรับเลี้ยงสาหร่ายให้สังเคราะห์แสง สำหรับส่วนนี้จะเป็นส่วนที่พัก สำหรับสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ และระบบกรองทางชีวภาพซึ่งจะกล่าวรายละเอียดต่อไปจากที่กล่าวมา สำหรับกรองล่างนั้นสามารถสั่งทำได้จากร้านค้าสำหรับทำตู้ปลาได้เลยและอีกสิ่งที่ต้องคำนึงคือขาสำหรับตั้งตู้ปลาไม่ควรเป็นขาเหล็กเนื่องจากอาจเกิดสนิมได้ทำให้ไม่แข็งแรง ที่นิยมคือขาไม้เนื่องจากไม่เป็นสนิม

3.               ไฟ
การเลี้ยงปลาทะเลโดยที่ไม่เลี้ยงปะการังนั้น สามารถใช้ไฟอะไรก็ได้เพื่อให้แสงสว่างและความสวยงาม แต่สำหรับตู้ที่มีการเลี้ยงปะการังนั้น จำเป็นจะต้องเพิ่มปริมาณไฟ เนื่องจากปะการังส่วนใหญ่จะดำรงชีวิตโดยการสังเคราะห์แสง ซึ้งต้องใช้แสงปริมาณมาก ๆ และแตกต่างกันไปตามความต้องการของปะการังแต่ละชนิด
-          หลอดไฟ HM
สามารถเลี้ยงปลาทะเลและปะการังที่ต้องการแสงที่มาสังเคราะห์อาหาร
-          หลอนฟลูออเรสต์เซน
สามารถเลี้ยงปลาทะเลและปะการังที่มีความต้องการที่จะสังเคราะห์แสงน้อย แต่มีอายุการใช้งานที่จำกัดอยู่ที่ประมาณ 1 ปี เมื่อหมดอายุ ค่าความสว่างจะลดลงและมีสีที่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม

4.               อุณหภูมิ
อุณหภูมิในการเลี้ยงปลาทะเลในทะเลเขตร้อนอยู่ที่ประมาณ 22- 26 องศาเซลเซียล ซึ่งอากาศในประเทศไทยเรานั้นร้อน จึงอาจจะทำให้ปลาและปะการังปรับตัวยากและเกิดอาการช็อกและตายได้ จึงควรจะมีเครื่องที่ทำความเย็นให้กับน้ำทะเลในตู้ปลาของท่าน ( Chiller ) สามารถช่วยทำความเย็นให้น้ำในตู้ แต่ถ้าอุณหภูมิในตู้นั้นเย็นเกินไป สามารถแก้ไขได้โดยการติด Heater เพื่อช่วยเพิ่มอุณหภูมิในตู้ให้สูงขึ้น เครื่องนี้หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายทั่วไป

5.               หินเป็น
หินเป็นเกิดจากซากปะการังที่ตายมาเกาะตัวกันเป็นก้อน มีลักษณะพิเศษจากหินทั่วไปคือ มีรูพรุน เป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียที่มีประโยชน์
หาซื้อได้ตามร้านขายปลาทะเล

6.               การเซตตู้
การเซตตู้ปลาทะเลถือว่ายากพอสมควร เนื่องจากการเลี้ยงปลาทะเลนั้นเราไม่สามารถใส่น้ำและใส่ปลาได้เลยทันทีเพราะการทำแบบนี้จะทำให้ปลาตาย เนื่องจากระบบภายในตู้ไม่สามารถกำจัดและรองรับของเสียที่เกิดจากปลาได้ ของเสียเหล่านั้นจำเป็นต้องถูกกำจัดโดยแบคทีเรีย เราจึงต้องทำการใส่หัวเชื้อแบคทีเรียลงในตู้และพร้อมกับรันน้ำทิ้งไว้อย่างนั้นเป็นเวลา 1 – 3 เดือน เพื่อให้เพอ่มจำนวนแบคทีเรียใรตู้ให้มีปริมาณที่มากพอ สำหรับขั้นตอนนี้เราต้องทำการลงหินเป็นไปด้วยเพื่อให้ระบบการเซตตัวที่สมบรูณ์

7.               การปูพื้น

สิ่งที่จะนำมาปูพื้นมีได้หลายแบบ เช่น เศษปะการัง ที่มีความละเอียดที่แตกต่างกันไปและที่นิยมใช้ได้แก่ ปะการังเบอร์ 0 และที่นิยมอีกอย่างนึ่งคือทรายเป็น ซึ่งเป็นทรายละเอียดจากทะเลที่มีสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ อาศัยอยู่การปูพิ้นควรใช้ทรายค่อนข้างหนาโดยเฉลี่ย 4 นิ้ว เพื่อต้องการให้บริเวณล่าง ๆ ของพื้นทรายนั้นเป็นส่วนที่ไม่มีออกซิเจนและยังเป็นที่อยู่อาศัยของแบคทีเรียอีกด้วย

1.               การลงปลาและสิ่งมีชีวิต
หลังจากที่เราได้ทำการเซตตู้เสร็จเรียบร้อย ก็มีถึงขั้นตอนการลงปลานั้น เราไม่ควรที่จะลงปลาในจำนวนที่มาก ๆ เนื่องจากระบบยังรองรับของเสียได้ไม่ทัน เราจึงต้องค่อย ๆ ลงปลาทีละ 1-2 ตัวเท่านั้น เพื่อที่แบคทีเรียจะได้สามารถกำจัดของเสียที่เกิดขึ้นได้ทัน และระยะห่างในการลงปลาควรที่จะเว้นอย่างน้อย 1-2 อาทิตย์ สำหรับปลาบางชนิดจะสามารถเลี้ยงได้ในตู้ที่มีอายุนานแล้วเท่านั้น 3-6 เดือน เช่น ปลาตระกูลแทงค์ เนื่องจากปลาเหล่านี้เป็นปลาที่ขับถ่ายของเสียปริมาณมาก ๆ จึงจำเป็นต้องเลี้ยงภายในตู้ที่ค่อนข้างเสถียรแล้ว
สำหรับขึ้นตอนการลงปลา เราต้องทำการปรับอุณหภูมิและปรับความเค็มก่อน ซึ่งการปรับอุณหภูมิทำได้โดยการลอยถุงปลาไว้ที่ผิวน้ำในตู้ก่อนปล่อยลงตู้เป็นเวลา 20-60 นาที ส่วนการปรับความเค็มนั้นทำได้โดยการค่อย ๆ ผสมน้ำในตู้ของเรากับน้ำที่มาจากร้าน ซึ่งอาจจะทำในภาชนะอื่น ๆ ก็ได้และจะเป็นการปรับอุณหภูมิไปด้วยภายในตัว

2.               การเลือกสิ่งมีชีวิตนำมาเลี้ยง
การเลือกชนิดของสิ่งมีชีวิตที่จะนำมาเลี้ยงภายในตู้ปลานั้น เราต้องเลือกความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมภายในตู้ปลาของเราด้วย การเลี้ยงปลาที่มากเกินไปนอกจากจะทำให้คุณภาพของน้ำแย่ได้ง่ายแล้ว บางครั้งอาจจะทำให้ปลาเครียด และเกิดการแย่งที่อยู่อาศัย เกิดการกัดกัน เนื่องด้วยปลาทะเลส่วนใหญ่จะเป็นปลาที่ห่วงถิ่นและบางชนิดเราสามารุเลี้ยงได้ชนิดละ 1 ตัว เท่านั้น ดังนั้นผู้เลี้ยงควรที่จะศึกษาให้ดีก่อนเลี้ยง

3.               การให้อาหารและแร่ธาตุเสริม
ปลาทะเลส่วนมากสามารถให้อาหารสำเร็จรูปให้กินได้ ซึ่งมีทั้งแบบเม็ดเล็ก เม็ดใหญ่ แบบแผ่น ต่างกันออกไป อาหารสำเร็จรูปเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านปลาทะเลโดยทั่วไป แต่มีปลาทะเลบ้างชนิดอาจจะกินเฉพาะอาหารสดเท่านั้น ซึ่งเราสามารถให้ไรทะเลเป็นอาหารได้ โดยที่ไรทะเลนั้นก็มีแบบเป็น ๆ และแบบแช่แข็ง การที่เราให้ไรทะเลเป็นอาหารอย่างเดียวอาจให้สารอาหารที่ไม่เพียงพอ ซึ่งอาจจะสลับให้อาหารสด เช่น กุ้งสับ หอยสับ สาหร่าย เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารหรือให้อาหารที่ต่างกันออกไป สำหรับอาหารของปะการังที่นิยมได้แก่ แคงเซียม ปะการังโครงแข็ง ไอโอดีน และอื่น ๆ

4.               อุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ที่ใช้ในตู้ทะเล
-          น้ำยาสำหรับวัดค่า Nitrite ( NO2 )
เป็นของเสียที่เกิดจากวงจรไนโตรเจนในกระบวนการกำจัดของเสีย
-          โปรตีนสกิมเมอร์
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กำจัดสารอินทรีย์ที่เกิดขึ้นภายในตู้โดยใช้ระบบฟองอากาศ ซึ่งรวมถึงการกำจัดเมือกที่เกิดขึ้นจากปะการังบางชนิดด้วย ซึ่งจะทำให้น้ำในตู้มีคุณภาพที่ดี ถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเหมือนกันในตู้ทะเล ซึ่งเราอาจติดตั้งไว้ในกรองล่างก็ได้
-          ปั๊มน้ำ
สำหรับเพิ่มกระแสน้ำภายในตู้เพื่อการหมุนเวียนของน้ำและเพิ่มออกซิเจนในน้ำซึ่งปั๊มน้ำนั้นมีความแรงหลายระดับขึ้นอยู่กับกำลังทรัพ เราอาจจะติดปั๊มน้ำมากกว่า 1 ตัวในตู้เพื่อเพิ่มกระแสน้ำภายในตู้ได้โดยเฉพาะตำแหน่งที่กระแสน้ำน้อย 800 2500 ลิตร/ชั่วโมง ซึ่งกระแสน้ำก็มีความจำเป็นต่อปะการังบางชนิดที่ต้องการกระแสน้ำที่แรงเป็นพิเศษ
-          ปั๊มลมใช้ถ่านพร้อมหัวทราย
เพื่อป้องกันเวลาที่เกิดไฟดับ สามารถใช้เพิ่มออกซิเจนในน้ำได้แทนปั๊มหลักที่ใช้ภายในตู้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น